บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

 ในปัจจุบันอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หูฟัง ลำโพง หรือแก็ตเจ็ต ต่างก็มี “Bluetooth” เป็นทางเลือกในการเชื่อมต่ออยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอุปกรณ์แต่ละชนิดมีจะมีเวอร์ชั่นของ Bluetooth รวมถึง Class ที่แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้ทาง Mercular.com ก็ไม่พลาดที่จะนำมาเสนอว่า การเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งหูฟัง ลำโพง หรือเครื่องเสียงชนิดต่างๆควรเลือกบลูทูธประเภทไหนและแต่ละชนิดมีความสำคัญหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อที่คุณผู้อ่านทุกท่านจะได้พิจารณาเลือกสินค้าหรืออุปกรณ์บลูทูธตามความเหมาะสมกันครับ

ทำความรู้จัก Bluetooth แต่ละ Class

เรามาเริ่มต้นกันที่ Class กันก่อนเลยดีกว่า สำหรับสัญญาณบลูทูธ หลักๆจะมีด้วยกันทั้งหมด 4 Class (บางที่อาจจะมีแค่ 3 Class เนื่องจาก Class 4 สัญญาณค่อนข้างอ่อนมากและไม่นิยมใช้กันครับ) ประกอบไปด้วย

  • Bluetooth Class 1: สามารถเชื่อมต่อได้ไกลประมาณ 100 เมตร มีกำลังส่งสัญญาณ 100 มิลลิวัตต์โดยประมาณ
  • Bluetooth Class 2: สามารถเชื่อมต่อได้ไกลประมาณ 10 เมตร โดยมีกำลังส่งสัญญาณ 2.5 มิลลิวัตต์โดยประมาณ
  • Bluetooth Class 3: สามารถเชื่อมต่อได้ไกลประมาณ 1 เมตร โดยมีกำลังส่งสัญญาณ 1 มิลลิวัตต์โดยประมาณ
  • Bluetooth Class 4: สามารถเชื่อมต่อได้ไกลประมาณ 0.5 เมตร โดยมีกำลังส่งสัญญาณ 0.5 มิลลิวัตต์โดยประมาณ

ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์แต่ละประเภทก็จะเลือกใช้ Bluetooth Class ต่างๆให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ของตนเอง เช่น ถ้าเป็นเครื่องส่ง Bluetooth Headset ของผู้ที่ชอบขับขี่มอเตอร์ไซบิ้กไบค์ แบบที่ใช้กันในต่างประเทศ (คล้าย Walkie-Talkie) จะเป็น Bluetooth Class 1 ครับ เพราะเน้นระยะทางในการสื่อสารเป็นหลัก แน่นอนว่าจะค่อนข้างกินแบตเตอรี่พอสมควร แต่ถ้าหากเป็นอุปกรณ์หูฟัง ลำโพง โดยทั่วไปแล้ว มักจะนิยมใช้ Bluetooth Class 2 กันครับ เนื่องจากไม่ได้เน้นระยะทางในการเชื่อมต่อเท่าไหร่นัก อีกทั้งยังไม่กินแบตเตอรี่มากด้วย แต่อย่างไรก็ดีทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับทางผู้ผลิตด้วยว่าเลือกใช้ Bluetooth Class ไหน โดยเราสามารถดูได้ที่คู่มือข้างกล่องครับ หรือในกรณีที่ผู้ผลิตไม่ระบุเราสามารถดูได้จาก “Version” ของ Bluetooth ที่เราจะพูดถึงกันในส่วนถัดไปครับ

Bluetooth Version ต่างๆ บอกอะไรเราได้บ้าง?

สำหรับเวอร์ชั่นของบลูทูธนั้น มีตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.0 ไปจนถึง 5.0 โดยใช้แต่ละเวอร์ชั่นก็จะมีการอัพเดทเพื่อแก้ไขการทำงานของบลูทูธไปอีก ซึ่งการอัพเดทนั้นให้ดูเวอร์ชั่นจากตัวเลขหลัง จุด เช่น เวอร์ชั่น 2.0 กับ 2.1 ตัว 2.1 จะเป็นตัวที่อัพเดทมาจาก 2.0 ครับ ทีนี้ในบลูทูธแต่ละเวอร์ชั่นจะมีความเร็วในการรับ/ส่ง ข้อมูลไม่เท่ากัน ซึ่งสิ่งนี้เองจะเป็นตัวชี้วัดว่าสัญญาณบลูทูธของอุปกรณ์คุณ อยู่ใน Class อะไรนั่นเอง โดยความเร็ว (Max Rate Date) ของบลูทูธเวอร์ชั่นต่างๆจะเป็นดังนี้

  • Bluetooth 2.0 =Mbps
  • Bluetooth 2.0+EDR = 3 Mbps
  • Bluetooth 2.1+EDR = 3 Mbps
  • Bluetooth 3.0+HS = 24 Mbps
  • Bluetooth 4.0 = 24 Mbps
  • Bluetooth 4.1 = 24 Mbps

**EDR หมายถึง Enhanced Data Rate / HS หมายถึง High-Speed ซึ่งทั้งคู่มีการปรับปรุงความเร็วเพิ่มขึ้นนั่นเอง

โดยเวอร์ชั่นของบลูทูธจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความเร็วในการรับหรือส่งข้อมูล ซึ่งยิ่งถ้าส่งได้ไว ในแง่ของการใช้หูฟังหรือลำโพง ก็จะได้รายละเอียดที่มากขึ้น คุณภาพเสียงดีขึ้น หรือลดโอกาสเกิดเสียงที่เหลื่อมกัน (Delay) ครับ ตรงนี้จะค่อนข้างเห็นผลในกรณีที่เราใช้ลำโพงบลูทูธต่อกับทีวี เวลาที่ภาพและเสียงไม่ตรงกัน ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่า Class/Version ของบลูทูธนั้น มีคุณภาพที่ไม่ถึงขั้นแน่นอน  อย่างไรก็ดีการเลือกหูฟังบลูทูธหรือลำโพงบลูทูธ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องถามผู้ขายเลยว่าอุปกรณ์ชนิดนั้นๆ ใช้ Bluetooth Class อะไร และ Version เท่าไหร่นั่นแหละครับ เพราะถ้าเราทราบถึงข้อมูลตรงนี้ก็จะทำให้เราเลือกอุปกรณ์ที่ตรงกับความต้องการได้ เช่น ถ้าต้องการเชื่อมต่อสัญญาณบลูทูธของโทรทัศน์กับหูฟังบลูทูธ เราก็อาจจะเลือกตัวส่งสัญญาณ Bluetooth Version 4.0 ขึ้นไป เพื่อจะได้มีความเร็วได้การส่งที่แรง และไม่เกิดการ Delay เป็นต้น

Bluetooth คนละ Version กัน ทำงานร่วมกันได้ไหม?

คำตอบ: ได้ครับ...เพียงแค่ว่าความเร็ว รวมถึงฟังก์ชันบางอย่างอาจจะใช้ไม่ได้นั่นเอง อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือรองรับบลูทูธ 4.0 ในขณะที่หูฟังบูลทูธรองรับแค่ 2.0 ตรงนี้ต้องบอกว่า แม้ตัวส่งสัญญาณบลูทูธจะเป็น 4.0 แต่ตัวรับสามารถรับได้แค่ 2.0 เท่านั้นครับ หรือบางที่เครื่องส่งรองรับ Bluetooth APT-X (ส่งสัญญาณเสียงคุณภาพดี) แต่ตัวรับไม่สามารถรับได้ ฟังก์ชันนี้ก็จะขาดหายไปนั่นเอง อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นครับว่าการเลือกหูฟังหรือลำโพงบูลทูธนั้นค่อนข้างสำคัญอย่างยิ่งว่าใช้คลาสหรือเวอร์ชั่นอะไรครับ

สำหรับบทความนี้เราก็ได้รู้จัก Bluetooth มากขึ้นกันแล้ว อย่างน้อยๆ เราก็พอจะบอกได้ว่าอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นหูฟัง ลำโพง หรือเครื่องเสียงนั้นใช้บลูทูธ Class อะไร หรือ Version อะไรบ้าง? ดังนั้นแล้วหากเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งทีไม่ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีบลูทูธความเร็วต่ำ เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนี้ค่อนข้างไปได้เร็ว ควรซื้อ Bluetooth Class/Version สูงๆไว้ก่อน เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคตนั่นเองครับ และในบทความหน้า เราจะมาทำความรู้จัก Bluetooth apt-X กันครับ ว่าจะมีผลกับเรื่องเสียงมากน้อยแค่ไหน

                                                         วิเคราะห์บทความ

            ในปัจจุบันอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หูฟัง ลำโพง หรือแก็ตเจ็ต ต่างก็มี “Bluetooth” เป็นทางเลือกในการเชื่อมต่ออยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอุปกรณ์แต่ละชนิดมีจะมีเวอร์ชั่นของ Bluetooth รวมถึง Class ที่แตกต่างกันออกไป โดยเวอร์ชั่นของบลูทูธจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความเร็วในการรับหรือส่งข้อมูล ซึ่งยิ่งถ้าส่งได้ไว ในแง่ของการใช้หูฟังหรือลำโพง ก็จะได้รายละเอียดที่มากขึ้น คุณภาพเสียงดีขึ้น                     

ข้อดี
1. เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคต่างๆ
2. สามารถโอนถ่ายข้อมูลต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลหรือรูปภาพต่างๆ
4.การใช้บูลทูธจะช่วยประหยัดเวลาในการตั้งอุปกรณ์ต่างๆและสามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ได้ง่าย
5. ลดความกังวลในการใช้โทรศัพท์ เนื่องจากถ้าผู้ใช้เลือกใช้ Smalltalk แบบมีสายต่อก็ต้องคอยกังวลว่า
สายจะไปเกี่ยวกับอะไรหรือไม่ แต่ถ้าเลือกใช้ชุด Booth Headset ผู้ใช้ก็หมดความกังวลได้เลยว่าสาย
Smalltalk จะไปเกี่ยวถูกอะไรหรือไม่เวลาใช้โทรศัพท์
6. เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้อินฟาเรดแล้ว การใช้ Bluetooth มีข้อดีกว่า เนื่องจากการรับส่งข้อมูลแบบอิน
ฟาเรดต้องใช้แสงเป็นสื่อในการติดต่อและผู้ส่งกับผู้รับจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกันห้ามมีสิ่งกีดขวาง
ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ Bluetooth ใช้สัญญาณวิทยุในการติดต่อสื่อสารผู้รับและผู้ส่งสามารถอยู่จุดไหนก็ได้
ภายใต้รัศมีไม่เกิน 10 เมตร

ข้อเสีย 

1.ความง่ายดายในการโอนถ่ายข้อมูลอาจทำให้เกิดอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นได้ถ้าบุคคลเหล่านั้นนำ
บูลทูธไปใช้งานในแบบที่ไม่เหมาะสม
2.ถ้ามีการเปิดบูลทูธทิ้งไว้นานอาจมีกลุ่มบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีปล่อยตัวไวรัสมาที่อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคของ
เราได้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและข้อมูลต่างๆได้
3. การใช้ Booth Headset และโทรศัพท์มือถืออย่างเพลิดเพลินและความสะดวกสบาย อาจทำให้ผู้ใช้ขาด
ความระมัดระวังได้
4. การส่งข้อมูลทาง Bluetooth อาจทำให้เกิดการดักฟังหรือการลักลอบขโมยข้อมูลต่างๆได้ถึงแม้ว่าจะทำ
ได้ยากก็ตาม








ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น